sirada06530089

พัฒนาการของกฎหมายไทย


ใส่ความเห็น

กฎหมายอยุธยาตอนปลาย

 

23_1236849106_副本mm

 

ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
สมัยพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา


           กฎหมายในสมัยพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยานั้น เป็นกฎหมายที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากกฎหมายสมัยพระเจ้าอู่ทองบ้าง ตราขึ้นใหม่บ้าง เช่น
กฎหมายลักษณะพิสูจน์ สมัยพระไชยราชา พ.ศ. 2078
กฎหมายเพิ่มเติมลักษณะอาญาหลวง สมัยพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2093
กฎหมายพิกัดเกษียณอายุ สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2176
กฎหมายลักษณะอุทธรณ์ สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2178
กฎหมายพระธรรมนูญตรากระทรวง สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2178
กฎหมายลักษณะทาส สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2180

          

การทหาร
ในสมัยพระเพทราชา พระองค์ทรงเห็นข้อบกพร่องในทางการทหาร จึงจัดระเบียบและปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องให้ดียิ่งขึ้น โดยพระองค์ทรงดำเนินการปรับปรุง ดังนี้
1. ทำสารบัญชี โดยการตั้งเป็นกรม แบ่งงานออกเป็น
1.1 สุรัสวดีกลาง
1.2 สุรัสวดีขวา
1.3 สุรัสวดีซ้าย

  2. มีการแต่งตำรายุทธพิชัยสงคราม เพื่อใช้เป็นหลักในการทำสงครามให้ถูกยุทธวิธี ซึ่งเป็นตำราที่ใช้ยึดเป็นหลักปฏิบัติกันมาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา

ชายฉกรรจ์ที่มีสัญชาติไทย มีหน้าที่ดังนี้
         

           1. เมื่ออายุได้ 18 ปี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นไพร่สม ต่อเมื่ออายุ 20 ปี จึงจะรับราชการเป็นไพร่หลวง และอยู่ในราชการจนกว่าจะอายุครบ 60 ปี จึงจะถูกปลด แต่ถ้ามีบุตรชายและส่งเข้ารับราชการ 3 คน ให้บิดาพ้นราชการได้
2. ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องมีสังกัดอยู่ในกรมใดกรมหนึ่ง ลูกหลานผู้สืบสกุลต้องอยู่ในสังกัดเดียวกัน ถ้าจะย้ายสังกัดต้องขออนุญาตก่อน
3. ในเวลาที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไพร่หลวงจะต้องเข้าประจำการปีละ 6 เดือน เรียกว่า เข้าเวร และจะต้องหาเสบียงของตนเองมาด้วย การเข้าเวรนี้จะเข้าเวร 1 เดือน แล้วออกเวรไปทำมาหากิน 1 เดือนแล้วจึงกลับมาเข้าเวรใหม่ สลับกันจนครบกำหนด
4. หัวเมืองชั้นนอก ที่อยู่ห่างไกลในยามปกติ ไม่ต้องการคนเข้ารับราชการมากเหมือนในราชธานี จึงใช้วิธีเกณฑ์ส่วนแทนการเข้าเวร โดยการนำของที่ทางราชการต้องการ เช่น ดินประสิว แร่ดีบุก ฯลฯ มาให้กับทางราชการแทนการเข้าเวร

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.dek-d.com/board/view/1618375/