sirada06530089

พัฒนาการของกฎหมายไทย


ใส่ความเห็น

ความสำคัญของการศึกษา

law_副本

การศึกษาพัฒนาการของกฎหมาย จะทำให้ทราบว่ากฎเกณฑ์ความประพฤติหรือกฎหมายในระยะ

เริ่มแรกของไทยได้รับอิทธิพลหรือมีการพัฒนามาอย่างไร ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา

ถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของกฎหมายไทยในอดีต โดยเพ่งเล็งถึงต้นตอของความรู้สึกนึกคิดที่ก่อให้เกิด

ขนบธรรมเนียมทางกฎหมายในแต่ละเรื่องที่ได้มีการพัฒนาในประเทศไทย

การแบ่งยุคประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

การแบ่งยุคประวัติศาสตร์กฎหมายนั้นไม่ได้แบ่งตามแบบการแบ่งยุคประวัติศาสตร์ แต่เป็นการ

แบ่งโดยจะพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านกฎหมายเป็นสำคัญ อาจแบ่งยุคประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

เป็น 2 ยุค


ใส่ความเห็น

สภาพปัญหาทางกฎหมายในปัจจุบัน

1.กฎหมายมหาชนไทยที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับระบบราชการแบบรวมศูนย์อำนาจ

สาเหตุของปัญหา

1.)  ความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ข้าราชการผู้มีอำนาจเป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งอุปถัมภ์ค้ำชู้ปกป้องและปกครองผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ ทำให้สภาพกฎหมายไทยมีลักษณะให้อำนาจและเอกสิทธ์แก่ระบบราชการและข้าราชการ

2.)  สังคมไทยในการเมืองเป็นสังคมอำนาจนิยม ในสังคมแบบนี้ยึดหลักอำนาจคือธรรม โดยความชอบธรรมถูกกำหนดโดยอำนาจปัจจุบันที่ผู้มีอำนาจมีอยู่ ดังนั้นระบบราชการและข้าราชการจึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและการใช้อำนาจ เหนือประชาชน

3.) การสร้างรัฐชาติให้เกิดขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 เพื่อต่อต้านกระแสกดดันจากจักรวรรดินิยมโดยการปรับปรุงระบบศาลยุติธรรมให้ รวมศูนย์และเป็นเอกภาพ ปฏิรูปกฎหมายให้เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรแบบประมวลกฎหมาย กระบวนการเหล่านี้ประสพผลสำเร็จในการทำให้ชาติไทยคงเอกราชและอธิปไตยทางการ เมืองและการศาล แต่กระบวนการเหล่านี้เมื่อบ้านเมืองพัฒนามากกว่า 100 ปีสมควรจะต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมโลกปัจจุบัน

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1.) เกิดการเรียกร้องให้รัฐส่วนกลางกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น

2.) ส่งเสริมให้ราชการฝ่ายบริหารเป็นแกนกลางของรัฐ จนกลายเป็นระบบที่ทรงพลังและปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองและประชาชนมากเกินไป

 

2. กฎหมายมหาชนไทย ที่ผ่านมามุ่งให้อำนาจและเอกสิทธิ์แก่ระบบราชการมากกว่าควบคุมการใช้อำนาจ

สาเหตุของปัญหา

            ลักษณะวัฒนธรรมในสังคมไทย 3 ประการที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กล่าวคือ วัฒนธรรมอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และรวมศูนย์อำนาจ เป็นต้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กฎหมายมหาชนไทยมุ่งให้อำนาจและเอกสิทธิ์แก่ระบบ ราชการมากกว่าการควบคุมการใช้อำนาจ

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

                1.) กฎหมายมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ ไม่ครบถ้วน ให้อำนาจแก่พนักงานมากเกินไป โดยปราศจากการควบคุม การใช้ดุลยพินิจที่ดี การที่กฎหมายมีสภาพเช่นนี้ ทำให้มีการใช้อำนาจเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นไปได้โดยง่าย 

                 2.) กฎหมายมุ่งการควบคุม ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็น และซับซ้อนกันมาก

                3.) ขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมีมากและล่าช้า สร้างความไม่แน่นอนให้เอกชน ความไม่แน่นอนและความล่าช้าเหล่านี้ สร้างความเสี่ยงในการลงทุนให้แก่เอกชนและทำให้เอกชนต้องเสียค่าใช้จ่ายโดย ไม่จำเป็น

                4.) ความล้าสมัยของกฎหมาย กฎหมายหลายฉบับได้ตราขึ้นในสภาพสังคมแบบเก่า แต่ยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน และได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง

                5.) ปริมาณกฎหมายมีมากและการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมาย       อนุบัญญัติได้ง่ายและปราศจากขอบเขตที่แน่นอน

                6.) กระบวนการนิติบัญญัติไทย เป็นกระบวนการที่ระบบราชการบริหารเป็นผู้กำหนดและเป็นกระบวนการที่ล่าช้าไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

 

3. ความสับสนของแนวความคิดในกฎหมายไทย

สาเหตุของปัญหา

            1.) การไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายในการเรียนการสอน นักกฎหมายไทยรุ่นเก่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายมหาชนเลย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475 การเรียนการสอนก็ยังไม่มากพอ ประกอบกับช่วงระยะเวลาที่เป็นการกำเนิดกฎหมายมหาชนก็สั้นเกินไป จนไม่อาจสร้างกฎหมายมหาชนได้อย่างแท้จริง เหตุนี้ทำให้พัฒนาการของกฎหมายมหาชนไทยค่อนข้างล้าหลัง

            2.) ความขัดแย้งทางความคิดของนักกฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษาจากภาคพื้นยุโรปและประเทศในกลุ่มคอมมอนลอว์

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

            1.) การแบ่งประเภทของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย

            เนื่องจากความไม่แน่นอนการศึกษากฎหมายมหาชนไทย ทำให้แนวความคิดในการแบ่งแยกกฎหมายมีความสับสนหลายประการ คือ

1.1.     ปัญหาการเป็นนิติบุคคลของรัฐในกฎหมายไทย

1.2.   การใช้บังคับกฎหมายและการศึกษากฎหมาย นักกฎหมายไทยส่วนใหญ่ไม่แยกความแตกต่างระหว่างการแยกสาขากฎหมาย โดยคำนึงถึงกฎหมายกับการแยกสาขากฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยออกจากกันได้

            2.) การเข้าใจหลักการแบ่งแยกอำนาจที่คลาดเคลื่อนของนักกฎหมายไทย นักกฎหมายไทยได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศที่แตกต่างกันในระบบและแนวคิดทาง กฎหมาย ดังนั้น ความเข้าใจในหลักกฎหมายจึงต่างกัน โดยเฉพาะหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งหลักการแบ่งแยกอำนาจนี้ได้กลายมาเป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการศึกษา การจัดและการปรับปรุงกลไกของรัฐ ซึ่งเป็นขอบเขตของวิชากฎหมายปกครอง

 

4. การบังคับใช้กฎหมายและความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม

ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย

      ศาตราจารย์ ดร.อมร  จันทรสมบูรณ์  ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

      1.) การบังคับใช้กฎหมาย คือมติที่สามของกฎหมาย สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตานั้นมีสามมิติคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาว และส่วนลึก มิติที่สามคือความลึก ตัวบทกฎหมายก็น่าจะเปรียบเทียบกับวัตถุที่เรามองไม่เห็นด้วยตาได้เช่นเดียว กัน ถ้านำตัวบทกฎหมายต่าง ๆ มาวิเคราะห์ดูให้ถ่องแท้ ว่าตัวบทกฎหมายเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้บังคับให้เกิดผลเป็นจริงได้เพียงใด เราจึงจะมองเห็นมิติที่สามของกฎหมายได้

      2.) เจตนารมณ์และกลไกของรัฐในแต่ละสาขาไม่เหมือนกันกฎหมายแต่ละสาขา มีเจตนาแตกต่างกันและรับก็สร้างกลไกของรัฐเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามบท บัญญัติของกฎหมาย

ปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม

      การอำนวยความยุติธรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่หลักของรัฐใน ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงและเร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ปัญหาความล่าช้าในการอำนวยความยุติธรรมนั้น จะเห็นได้ว่าย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างมากทั้งใน คดีแพ่งและคดีอาญา

      ในคดีแพ่งนั้น การที่คดีความล่าช้าไม่ว่าจะอยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ดี หากในแต่ละคดีต้องใช้เวลาพิจารณานานหลายปี ย่อมไม่อาจเยียวยาความเดือดร้อนของคู่ความได้ แม้ในที่สุดศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ตาม

      ส่วนในคดีอาญานั้น การพิจารณาคดีที่ใช้เวลานานเกินไป ย่อมกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ศาล มีคำพิพากษายกฟ้อง หากจำเลยจำเป็นต้องถูกควบคุมตัวในระหว่างการพิจารณาด้วยแล้วด้วยแล้ว เสรีภาพที่สูญเสียไปย่อมไม่อาจแก้ไขได้

23_


ใส่ความเห็น

ความคิดทางด้านกฎหมายมหาชน

23_1236849ll106_副本

+++++ ความคิดทางด้านกฎหมายมหาชน

                              ตามหลักกฎหมายสมัยใหม่ถือหลักว่าการปกครองและการบริหารราชการต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่เรียกว่า “Principle of Legality in Administration” กล่าวคือ เจ้าพนักงานผู้ใช้อำนาจในการปกครองหรือบริหารบ้านเมืองจะลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของเอกชนได้ ก็เฉพาะแต่ที่กฎหมายให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น และจะต้องกระทำด้วยกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายด้วย การปกครองในรัฐสมัยใหม่จึงจำต้องยอมรับหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of power) ออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เพราะการแยกอำนาจดังกล่าวมิได้แบ่งเพื่อความเป็นระบบทางทฤษฎีเท่านั้น แต่แบ่งเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ (for pragmatical purpose) เพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ตกอยู่ใต้อำนาจอำเภอใจของอำนาจฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งความคิดทางด้านกฎหมายมหาชนตามหลักกฎหมายสมัยใหม่ดังกล่าวแตกต่าง จากการปกครองของไทยในสมัยนั้นซึ่งเป็นระบบโบราณแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

                              อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะไม่ได้แยกอำนาจออกเป็น 3 ส่วน เพื่อถ่วงดุลกันดังหลักกฎหมายข้างต้น แต่ก็มิได้หมายความว่า ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทยจะมีลักษณะของการใช้อำนาจโดย เด็ดขาด (Absolute Monarchy) แบบโลกตะวันตก เพราะการปกครองของพระมหากษัตริย์ไทยจะถือ หลักคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นสำคัญ คือ ยึดถือหลักธรรมศาสตร์ในการปกครองแผ่นดิน การจะมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องใดต้องยึดถือหลักคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นที่ ตั้งใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกที่ได้ริเริ่มปรับปรุงระบบกฎหมายตาม แบบตะวันตก ในสมัยของพระองค์ท่านได้มีการประกาศใช้กฎหมายมากมายร่วม 500 ฉบับ กฎหมายที่ประกาศใช้ในเวลานั้น นอกจากจะเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อแก้ไข ปัญหาเฉพาะเรื่องแล้ว ประกาศส่วนหนึ่งจะแสดงถึงแนวพระราชดำริที่จะปรับเปลี่ยนความคิดของคนไทยให้ ทัดเทียมอารยประเทศด้วย เช่น ทรงออกประกาศยกเลิกประเพณีที่บิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดย เจ้าตัวไม่สมัครใจเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทรงดำริว่าสิทธิดังกล่าวไม่เป็นการยุติธรรมแก่เด็กและผู้หญิง นอกจากนี้ยังทรงออกประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บรรดาเจ้าจอมถวายบังคม ลาไปอยู่ที่อื่นหรือแต่งงานใหม่ได้ ด้วยทรงเมตตาแก่หญิงเหล่านั้นว่าจะต้องมาใช้ชีวิตเหมือนถูกกักขังอยู่ในพระ บรมมหาราชวัง ทำให้ขาดความสุข ขาดเสรีภาพเปลืองชีวิตและเวลาของหญิงเหล่านั้นไปโดยเปล่าประโยชน์ในส่วนที่ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงออกประกาศอย่างเป็นทางการ ยกเลิกประเพณีบางอย่างที่เห็นว่าล้าสมัย เช่น ประเพณีห้ามราษฎรมองดูพระมหากษัตริย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ราษฎร เช่น ในเรื่องที่ดิน ทรงเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งปวง ทั่วราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับหลักการของกฎหมายสมัยใหม่ อนึ่ง เมื่อมีประกาศออกมาการป่าวประกาศให้ราษฎรได้ทราบตามแบบที่เคยปฏิบัติกันมา แต่เดิมอาจจะไม่บรรลุผลและอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ เพราะกฎเกณฑ์ที่ประกาศขึ้นใหม่นั้นส่วนหนึ่งกำหนดขึ้นโดยเหตุผลทางเทคนิค (Technical Reason) จึงไม่ใช่เรื่องที่ประชาชนจะรู้ได้ด้วยสามัญสำนึก ดังนั้นเพื่อให้การรับรู้และประกาศใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็น ทางการมากขึ้น จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังและต่อมาได้จัด พิมพ์หนังสือที่เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา เมื่อมีกฎหมายออกมาใช้ใหม่ก็ให้ประกาศในหนังสือนี้ ในประกาศที่ 1 ว่าด้วยออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาดังนั้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เริ่มรับแนวคิดทางตะวันตก โดยพระองค์เห็นว่ากฎหมายมิได้คงที่ตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงได้ตามศีลธรรมความรู้สึก ประเพณีและความก้าวหน้าในอารยธรรม พระองค์ทรงแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่นำไปสู่ความยุติธรรม คือ พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย

รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ใส่ความเห็น

ความคิดเกี่ยวกับกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาตามหลักกฎหมายสมัยใหม่

+++++ความคิดเกี่ยวกับกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาตามหลักกฎหมายสมัยใหม่ 

                              23_1236849106_副本

   ถือว่าการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะจับกุมลงโทษบุคคลใดได้ จะต้องปรากฏว่าการกระทำของบุคคลนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งนั้นมี กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ทำให้เกิดหลักที่ ว่า ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย และการพิจารณาคดีอาญาก็จะต้องเป็นไปโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จะใช้วิธี “จารีตนครบาล” เป็นการทรมานร่างกาย ข่มขู่ให้รับสารภาพไม่ได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นหลักว่า การพิจารณาคดีต้องกระทำโดยเปิดเผย ฟังความทุกฝ่าย การสืบพยานต้องชอบด้วยเหตุผลและให้ถือหลักว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้ บริสุทธิ์จนกว่าจะได้พิสูจน์แล้วว่าผู้นั้นกระทำความผิดจึงจะลงโทษได้ หลักกฎหมายดังกล่าวเป็นหลักกฎหมายที่ได้พัฒนามาเป็นเวลานาน จากวิธีการพิจารณาคดีที่โหดร้ายในสมัยกลาง จนกลายเป็นหลักกฎหมายสมัยใหม่ดังกล่าว ในขณะที่สังคมไทยยังมีโครงสร้างของสังคมและวิธีปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดใน แบบเดิม การลงโทษที่มีลักษณะรุนแรงและการพิจารณาคดีโดยใช้จารีตนครบาลยังคงมีอยู่ เรื่องเหล่านี้เองที่ถือเป็นข้อรังเกียจของชาวต่างชาติ และถือเป็นข้ออ้างไม่ยอมขึ้นศาลไทย


ใส่ความเห็น

กฎหมายสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

กฎหมายสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4

                               กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในระยะแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ก็คือ กฎหมายที่ใช้อยู่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยอาศัยความจำและการคัดลอกกันมาตามเอกสารที่หลงเหลือจากการถูกทำลายเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ตามพระราชกำหนดใหม่ข้อที่ 28 กล่าวว่า บทกฎหมายเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาได้สูญไปมากในบทกฎหมายเก้าหรือสิบส่วน จะคงมีเหลืออยู่ก็แต่เพียงส่วนเดียวเท่านั้นและเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงทำการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ โดยอาศัยมูลอำนาจอธิปไตยของพระองค์เองบ้าง อาศัยหลักฐานที่ได้จากการสืบสวนฟังคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บ้าง เช่น ผู้ที่ได้เคยอยู่ในคณะตุลาการศาลแต่ครั้งเดิมๆ จนกระทั่งได้เกิดคดีฟ้องหย่าของชาวบ้านเกิดขึ้นและมีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คดีฟ้องหย่าที่เกิดขึ้นนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กฎหมาย ก็คือผลจากคดีนี้เป็นต้นเหตุให้นำมาซึ่งการชำระสะสางกฎหมายในสมัยนั้น คดีที่ว่านี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2347 โดยเป็นคดีที่อำแดงป้อม ฟ้องหย่านายบุญศรีช่างเหล็กหลวง ทั้ง ๆ ที่ตนได้ทำชู้กับนายราชาอรรถและศาลได้พิพากษาให้หย่าได้ตามที่อำแดงป้อมฟ้อง โดยอาศัยการพิจารณาคดีตามบทกฎหมายที่มีความว่า ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้เมื่อผลคดีเป็นเช่นนี้

                        นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้นขัดหลักความยุติธรรม ทรงสงสัยว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะถูกต้องตรงตามตัวบทกฎหมายหรือไม่ จึงมีพระบรมราชโองการให้เทียบกฎหมาย 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ศาลใช้กับฉบับที่หอหลวงและที่ห้องเครื่องแต่ก็ปรากฏข้อความที่ตรงกัน เมื่อเป็นดังนี้ จึงทรงมีพระราชดำริว่า กฎหมายนั้นไม่เหมาะสม อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการคัดลอกสมควรที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายใหม่ เหมือนการสังคายนาพระไตรปิฎกในการชำระกฎหมายครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการทั้งหมด 11 คน โดยให้มีหน้าที่2 ประการ คือ ประการแรก จัดให้มีทางสำหรับค้นหาตัวบทกฎหมายได้ง่าย เพื่อความสะดวกแก่ศาลในอันที่จะค้นคว้านำเอามาพิเคราะห์ประกอบการพิจารณาอรรถคดี หน้าที่ประการที่สองคือจัดการสะสางเกี่ยวกับเนื้อความในตัวบทกฎหมายนั้น เพื่อตัดทอนส่วนที่มีความขัดแย้งอันทำให้เกิดความฉงนสนเท่ห์แก่ศาลในอันที่จะนำเอาบทกฎหมายมาปรับกับคดีให้ถูกต้องและสะดวกแก่การใช้ แต่ไม่สามารถที่จะแต่งเติมหรือยกร่างสิ่งใหม่ได้ เพราะเชื่อว่ากฎหมายหรือหลักธรรมมิใช่สิ่งที่มนุษย์จะสร้างขึ้นมาได้ หลังชำระสะสางเสร็จแล้ว อาลักษณ์ได้เขียนด้วยหมึกบนสมุดข่อยและประทับตรา 3 ดวง บนปก คือ ตราคชสีห์ ตราราชสีห์และตราบัวแก้ว ตราประทับดังกล่าวเป็นตราประจำตำแหน่งของสมุหนายก สมุหกลาโหม และเจ้าพระยาพระคลังภายหลังกฎหมายตราสามดวงแล้ว รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้ตรากฎหมาย พระราชบัญญัติบ่อนเบี้ยพ.ศ. 2333 กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ กฎหมายห้ามมิให้ซื้อฝิ่นขายฝิ่น สูบฝิ่น พ.ศ. 2354 กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ กฎหมายโจรห้าเส้น พ.ศ. 2380ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไทยต้องปรับปรุงระบบกฎหมายให้เข้าสู่สมัยใหม่ การปรับเปลี่ยนเช่นนี้มิได้เป็นไปเฉพาะประเทศไทย แต่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียก็ล้วนแต่ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน และนอกจากนี้เกิดจากความบกพร่องของกฎหมายไทยเดิมในการใช้ติดต่อกับชาวต่างชาติในเวลานั้น ซึ่งพบว่ามีข้อขัดข้องอยู่บางประการเพราะกฎหมายเดิมที่มีอยู่ไม่สามารถใช้แก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะสัญญาทางพาณิชย์ และในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายเทคนิค (Technical Law) ในประเด็นเหล่านี้เองเมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกจะพบความแตกต่างที่เห็นได้ชัด และต้องยอมรับว่า กฎหมายสมัยใหม่ของตะวันตกสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ความจำเป็นในการที่ต้องรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกมาใช้ในระบบกฎหมายของไทยนั้นเนื่องมาจากปัญหาเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จึงจำเป็นต้องปรับปรุงระบบกฎหมายให้ทันสมัย ซึ่งสาเหตุดังกล่าวก็เป็นเหตุผลและความจำเป็นที่มีอยู่ในเวลานั้น เพราะในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศทางยุโรปเรืองอำนาจ จึงเป็นการยากที่จะปฏิเสธข้อเสนอจากประเทศเหล่านั้น แต่นอกจากเหตุผลดังกล่าว หากพิจารณาในส่วนที่เป็นหลักการและเนื้อหาของกฎหมายด้วยแล้ว จะพบว่าการรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกในครั้งนั้น เป็นเพราะลักษณะพิเศษของกฎหมายสมัยใหม่ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างเป็นระบบ เปี่ยมไปด้วยเหตุผล มีความเหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้กับสังคมสมัยใหม่ดังนั้นจึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า สาเหตุที่ประเทศไทยรับเอากฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก เป็นเพราะเหตุผลใหญ่ ๆ 2 ประการ กล่าวคือ

         

                ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

นับแต่ปี พ.ศ. 2398 ไทยจำต้องทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ซึ่งมีสาระสำคัญประการหนึ่งก็คือ ข้อตกลงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนต่างชาติที่ทำผิดในเมืองไทยขอยกเว้นที่จะไม่ใช้กฎหมายไทยบังคับ ทั้งนี้โดยมีเหตุผลว่า กฎหมายไทยยังล้าสมัย และนอกจากนี้ไทยยังจำต้องยอมทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ อีก 13 ฉบับและได้ขยายไปถึงอาณานิคมของประเทศเหล่านั้นด้วย ซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้นอกจากจะก่อให้เกิดข้อเสียเปรียบทางด้านการศาลแล้ว ยังก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจด้วย คือ ไทยมีสิทธิเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3 และต้องยอมเลิกระบบผูกขาดของระบบพระคลังสินค้า ส่วนภาษีขาออกเก็บได้ตามพิกัดสินค้าที่แนบท้ายสัญญา และไทยต้องยอมให้อังกฤษส่งฝิ่นเข้ามาจำหน่ายได้ด้วย อนึ่งแม้จะรู้ถึงข้อเสียเปรียบแต่ไทยจำต้องยอมเพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้

         

                  ความไม่เหมาะสมกับกาลสมัยของกฎหมายไทยเดิม

การที่ชาวต่างชาติได้ขอทำสนธิสัญญาในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยไม่ยอมขึ้นศาลไทยนั้น เพราะชาวต่างชาติให้เหตุผลว่าระบบกฎหมายของไทยยังมีความล้าหลังมาก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา อนึ่ง หากจะตั้งคำถามว่า กฎหมายเดิมของไทยซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีความบกพร่องล้าสมัยดังที่ชาวต่างชาติกล่าวหานั้นเป็นความจริงหรือไม่ คำตอบก็คงจะเป็นว่ากฎหมายเดิมของไทยไม่ได้บกพร่องหรือใช้ไม่ได้เสียทั้งหมด หลักกฎหมายแม่บทคือคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นหลักกฎหมายที่สามารถใช้ได้ตลอดไปไม่ว่าเวลาใด แต่ในส่วนที่เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องกฎหมายเหล่านี้อาจไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายสมัยใหม่แล้ว จะพบความแตกต่างและความล้าสมัยในประการสำคัญดังนี้

+++++ ในด้านศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎหมายสมัยใหม่ถือว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนาม

เป็นบุคคลและเป็นตัวการของกฎหมาย (Subject of Law) ถือว่าบุคคลทุกคนที่เกิดมามีความ

เท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมายหรือที่เรียกกันว่าหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย

(Equality Before the Law) หลักดังกล่าวนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบกับสังคมไทยในสมัยนั้นจะ

พบว่า ประเทศไทยยังมีทาสอยู่ แม้ว่าสถานะของทาสในเมืองไทยจะไม่ได้มีสภาพเหมือนวัตถุ

ดังเช่นความหมายของทาสแบบตะวันตก แต่ทาสไทยก็ไม่ได้รับการรับรองในศักดิ์ศรีของความ

เป็นมนุษย์เท่าที่ควรการปฏิบัติต่อทาสนั้น ยังถือว่าทาสเป็นเหมือนทรัพย์สินของมูลนายหรือ

ผู้เป็นเจ้าของทาส

+++++การรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของทรัพย์สินเอกชน แม้ว่าความคิดเรื่องสิทธิในทรัพย์สินจะเป็น

เรื่องที่ได้รับการรับรู้มาตั้งแต่กฎหมายเดิมแล้ว แต่ในรัฐสมัยใหม่ได้ให้การรับรองและยืนยันใน

ความคิดนี้ให้เด่นชัดขึ้น จนถือเป็นหลักกฎหมายที่สำคัญว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วน

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกรณีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำนิติกรรมสัญญา เรื่องหนี้

หรือการมีนิติสัมพันธ์ในกรณีอื่น ๆ ล้วนได้รับการพัฒนาจนเป็นหลักกฎหมายสมัยใหม่

ในขณะที่สังคมไทยในอดีตยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพราะหลักกฎหมายที่มีอยู่ในกฎหมาย

ไทยเดิมคงปรากฏเฉพาะในเรื่องง่ายๆ เช่น ในเรื่องกู้ยืมฝากทรัพย์ เป็นต้น ในเรื่องดังกล่าว

.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า กฎหมายเดิมของไทยมีลักษณะที่ยังไม่ครอบคลุม

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเหมือนอย่างความคิดแบบตะวันตก

23_1236849106_副本';


ใส่ความเห็น

กฎหมายอยุธยาตอนปลาย

 

23_1236849106_副本mm

 

ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
สมัยพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา


           กฎหมายในสมัยพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยานั้น เป็นกฎหมายที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากกฎหมายสมัยพระเจ้าอู่ทองบ้าง ตราขึ้นใหม่บ้าง เช่น
กฎหมายลักษณะพิสูจน์ สมัยพระไชยราชา พ.ศ. 2078
กฎหมายเพิ่มเติมลักษณะอาญาหลวง สมัยพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2093
กฎหมายพิกัดเกษียณอายุ สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2176
กฎหมายลักษณะอุทธรณ์ สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2178
กฎหมายพระธรรมนูญตรากระทรวง สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2178
กฎหมายลักษณะทาส สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2180

          

การทหาร
ในสมัยพระเพทราชา พระองค์ทรงเห็นข้อบกพร่องในทางการทหาร จึงจัดระเบียบและปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องให้ดียิ่งขึ้น โดยพระองค์ทรงดำเนินการปรับปรุง ดังนี้
1. ทำสารบัญชี โดยการตั้งเป็นกรม แบ่งงานออกเป็น
1.1 สุรัสวดีกลาง
1.2 สุรัสวดีขวา
1.3 สุรัสวดีซ้าย

  2. มีการแต่งตำรายุทธพิชัยสงคราม เพื่อใช้เป็นหลักในการทำสงครามให้ถูกยุทธวิธี ซึ่งเป็นตำราที่ใช้ยึดเป็นหลักปฏิบัติกันมาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา

ชายฉกรรจ์ที่มีสัญชาติไทย มีหน้าที่ดังนี้
         

           1. เมื่ออายุได้ 18 ปี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นไพร่สม ต่อเมื่ออายุ 20 ปี จึงจะรับราชการเป็นไพร่หลวง และอยู่ในราชการจนกว่าจะอายุครบ 60 ปี จึงจะถูกปลด แต่ถ้ามีบุตรชายและส่งเข้ารับราชการ 3 คน ให้บิดาพ้นราชการได้
2. ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องมีสังกัดอยู่ในกรมใดกรมหนึ่ง ลูกหลานผู้สืบสกุลต้องอยู่ในสังกัดเดียวกัน ถ้าจะย้ายสังกัดต้องขออนุญาตก่อน
3. ในเวลาที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไพร่หลวงจะต้องเข้าประจำการปีละ 6 เดือน เรียกว่า เข้าเวร และจะต้องหาเสบียงของตนเองมาด้วย การเข้าเวรนี้จะเข้าเวร 1 เดือน แล้วออกเวรไปทำมาหากิน 1 เดือนแล้วจึงกลับมาเข้าเวรใหม่ สลับกันจนครบกำหนด
4. หัวเมืองชั้นนอก ที่อยู่ห่างไกลในยามปกติ ไม่ต้องการคนเข้ารับราชการมากเหมือนในราชธานี จึงใช้วิธีเกณฑ์ส่วนแทนการเข้าเวร โดยการนำของที่ทางราชการต้องการ เช่น ดินประสิว แร่ดีบุก ฯลฯ มาให้กับทางราชการแทนการเข้าเวร

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.dek-d.com/board/view/1618375/


ใส่ความเห็น

กฎหมายอยุธยาตอนกลาง

ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

           ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีกฎหมายใหม่หลายฉบับ บางฉบับก็ปรับปรุงจากของเก่า กฎหมายที่ตราขึ้นใหม่มีดังนี้
   1. กฎหมายว่าด้วยการเทียบศักดินา
          จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ศิลาจารึกสุโขทัย และจดหมายเหตุของจีน ทำให้เราทราบว่า ศักดินาไม่ได้มีเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ได้มีมานานแล้ว เป็นเพียงแต่พระองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์และปรับปรุงใหม่เท่านั้น
ในสมัย ก่อน ถือว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร ข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ ยังไม่มีเงินเดือน เงินปีอย่างสมัยนี้ จึงใช้วิธีพระราชทานที่ดินให้มากน้อยตามฐานะแต่ความเป็นจริง แล้วก็ไม่ได้มีที่ดินไว้ในครอบครองตามที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ศักดินาเป็นเครื่องกำหนดชั้นฐานะของบุคคลและยังมีผลในทางด้านอื่นๆ ด้วยเช่น
1.1 การปรับไหม ผู้ที่ทำผิดอย่างเดียวกัน ถ้ามีศักดินาสูงกว่า จะเสียค่าปรับมากกว่ามีศักดินาต่ำกว่า หรือการปรับไหมให้แก่กันในคดีเดียวกัน ถ้าไพร่ผิดต่อไพร่ จะเสียค่าปรับตามศักดินาไพร่ ถ้าไพร่ทำผิดต่อขุนนาง ให้เอาศักดินาขุนนางมาปรับไพร่ ถ้าขุนนางผิดต่อไพร่ ให้ปรับตามศักดินาของขุนนาง
1.2 การตั้งทนาย ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ ขึ้นไป จะแต่งตั้งทนายว่าความแทนตนเองได้
1.3 กำหนดที่นั่งในการเฝ้า เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน ผู้มีศักดินา 10,000 ถึง 800 ต้องเข้าเฝ้า นอกนั้นไม่บังคับ ตำแหน่งที่นั่งจะสูงต่ำ ใกล้หรือไกลให้จัดตามศักดินา
พอสรุปได้ว่า ศักดินา หมายถึง เกณฑ์ตามพระราชกำหนดที่กำหนดว่า บุคคลนั้นจะมีกรรมสิทธิ์ในที่นามากน้อยเพียงใด
ระเบียบตำแหน่งยศศักดินาของข้าราชการ มีดังนี้
1. ยศ ได้แก่ เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน
2. ราชทินนาม ได้แก่ ยมราช สีหราชเดโชชัย ฯลฯ
3. ตำแหน่ง ได้แก่สมุหกลาโหม สมุหนายก เสนาบดี ฯลฯ
4. ศักดินา ได้แก่ เกณฑ์กำหนดสิทธิ์ที่นาตามยศแต่ละบุคคล
        2. กฎหมายลักษณะอาญาขบถศึก
           ตัวอย่างความบางตอนเกี่ยวกับลักษณะอาญาขบถศึก
มาตรา 1 ผู้ใดใฝ่สูงให้เกินศักดิ์มักขบถประทุษร้าย จะต่ำพระองค์ลงมาดำภูฉัตร อนึ่งทำร้ายพระองค์ด้วย โหรายาพิษ แลด้วยเครื่องศาสตราสรรพยุทธให้ถึงสิ้นพระชนม์ อนึ่งพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้ใดไปรั้งเมืองครองเมืองและมิได้เอาสุพรรณบุปผาและ ภัทยาเข้ามาบังคมถวายแลแข็งเมือง อนึ่งผู้ใดเอาใจเผื่อแผ่ศึกศัตรูนัดแนะให้ยกเข้ามาเบียดเบียนพระนคร ขอบขัณฑเสมาธานีน้อยใหญ่ อนึ่งผู้ใดเอากิจการบ้านเมืองแจ้งให้ข้าศึก ถ้าผู้ใดกระทำดังกล่าวนี้ โทษผู้นั้นเป็นอุกฤษฏ์ 3 สถาน
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ ฆ่าเสียให้สิ้นทั้งโคตร
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ ฆ่าเสีย เจ็ดโคตร
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ แล้วให้ฆ่าเสียโคตรนั้นอย่าเลี้ยงต่อไปอีกเลย
เมื่อ ประหารชีวิตนั้น ให้ประหารให้ได้ 7 วัน จึงสิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตและศพตกลงในแผ่นดินท่าน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ
             3. กฎหมายลักษณะอาญาหลวง
           ตัวอย่างความบางตอนเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะอาญาหลวง
มาตรา 1 ผู้ใดโลภนักมักทำใจใหญ่ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ กระทำให้ล้นพ้นล้ำเหลือบรรดาศักดิ์ อันท่านไม่ให้แก่ตน แลจำพระราชนิยมพระเจ้าอยู่หัว แลถ้อยคำมิควรเจรจา มาเจรจาเข้าในระหว่างราชาศัพท์ แลสิ่งที่มิควรเอามาประดับ เอามาทำเป็นเครื่องประดับท่านว่าผู้นั้นทะนงองอาจ ให้ลงโทษ 8 สถาน
สถานหนึ่ง ให้ฟันคอริบเรือน
สถานหนึ่ง ให้เอามะพร้าวห้าวยัดปาก
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง
สถานหนึ่ง ให้ไหมจตุรคูณเอาตัวออกจากราชการ
สถานหนึ่ง ให้ไหมทวีคูณ
สถานหนึ่ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง 50 ที 25 ที ใส่กรุไว้
สถานหนึ่ง ให้จำแล้วถอดเสียเป็นไพร่  สถานหนึ่ง ให้ภาคทัณฑ์ไว้
   

           4. กฎหมายว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล
          กฎมณเฑียรบาล หมายถึง พระราชกำหนดที่ใช้ภายในพระราชสำนัก แบ่งเป็น 3 แผนก
4.1 แผนกพระตำรา หมายถึง พระตำราที่ว่าด้วยแบบแผน พระราชานุกิจ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติปฏิบัติตามกำหนด
4.2 แผนกพระธรรมนูญ หมายถึง แผนกที่ว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการ ตลอดถึงการจัดตำแหน่งต่างๆ ของพระราชวงศ์
4.3 แผนกพระราชกำหนด เป็นบทบัญญัติสำหรับใช้ในพระราชสำนัก รวมทั้งข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการปกครองในราชสำนัก ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายด้วย เช่น 

                      วิวาทถกเถียงกันในวัง มีโทษให้จำใส่ชื่อไว้ 3 วัน
ด่ากันในวัง มีโทษให้ตีด้วยหวาย 50 ที
ถีบประตูวัง มีโทษให้ตัดเท้า
กินเหล้าในวัง มีโทษให้เอาเหล้าร้อนๆ กรอกปาก

23_1236849106_副本,.

 

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.dek-d.com/board/view/1618375/


ใส่ความเห็น

กฎหมายและศาลสมัยกรุงศรีอยุธยา
ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
         ลักษณะการตั้งกฎหมายในตอนแรกๆ นั้นทำเป็นหมายประกาศอย่างละเอียด ขึ้นต้นบอกวัน เดือน ปี ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ใครเป็นผู้กราบบังคมทูลคดีอันเป็นเหตุให้ตรากฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินยืดยาวเกินไป จึงตัดข้อความที่ไม่ต้องการออก แต่ต่อๆ มา กฎหมายมีมากขึ้น ก็ยากแก่การค้นห้า จึงตัดข้อความลงอีก ซึ่งพราหมณ์ชาวอินเดียเป็นผู้นำมาสอนให้ทำ อนุโลมตามแบบพระมนูธรรมศาสตร์ อันเป็นหลักกฎหมายของอินเดีย เช่น ลักษณะโจร ลักษณะผัวเมีย

    

           กฎหมายสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ในระหว่าง พ.ศ. 1894-1910 ได้มีการพิจารณาตรากฎหมายขึ้นทั้งหมด 10 ฉบับ คือ
1. กฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1894
2. กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1895
3. กฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. 1899
4. กฎหมายลักษณะลักพา พ.ศ. 1899
5. กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ พ.ศ. 1901
6. กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. 1903
7. กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน พ.ศ. 1903
8. กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904
9. กฎหมายลักษณะผัวเมีย(เพิ่มเติม) พ.ศ. 1905
10. กฎหมายลักษณะโจรว่าด้วยสมโจร พ.ศ. 1910

    

           กฎหมายลักษณะลักพา
           กฎหมายลักษณะลักพา มีอยู่บทหนึ่งว่าด้วยเรื่องทาส ดังนี้ ผู้ใดลักพาข้าคนท่านขายให้แก่คนต่างประเทศ คนต่างเมือง ฯลฯ พิจารณาเป็นสัจ ท่านให้ฆ่าผู้ร้ายนั้นเสีย ส่วนชาวต่างประเทศนั้นให้เกาะจำไว้ฉันไหมโจร
แต่ เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัยเป็นมิตรกันนั้น มีผู้ลักพาทาสในกรุงศรีอยุธยาหนีขึ้นไปเมืองเหนือ พวกเจ้าเงินกราบทูลพระเจ้าอู่ทองขอให้ไปติดตามเอาทาสกลับมา แต่พระเจ้าอู่ทองกลับมีพระราชดำรัสให้ว่ากล่าวเอาแก่ผู้ขายนายประกันเท่า นั้น
    กฎหมายลักษณะผัวเมีย
กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยนั้น ชายมีภรรยาได้หลายคน และกฎหมายก็ยอมรับ กฎหมายจึงแบ่งภรรยาออกเป็น
1. หญิงอันบิดามารดากุมมือให้ไปเป็นเมียชาย ได้ชื่อว่าเป็นเมียกลางเมือง (เมียหลวง)
2. ชายขอหญิงมาเลี้ยงเป็นอนุภรรยาหลั่นเมียหลวงลงมา ได้ชื่อว่าเมียกลางนอก
3. หญิงใดทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่ได้มาเห็นหมดหน้า เลี้ยงเป็นเมียได้ชื่อว่า เมียกลางทาสี


           การพิจารณาคดี
ในสมัยพระจ้าอู่ทองนั้น ได้อยู่ในอำนาจของเสนาบดีจตุสดมภ์ดังนี้
1. เสนาบดีกรมเมือง พิจารณาพิพากษาคดีอุกฉกรรจ์ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในแผ่นดิน
2. เสนาบดีกรมวัง พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทของราษฎร
3. เสนาบดีกรมคลัง พิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. เสนาบดีกรมนา พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โคกระบือ เพื่อระงับข้อพิพาทของชาวนา

อ้างอิงจาก http://www.dek-d.com/board/view/1618375/


ใส่ความเห็น

กฎหมายสมัยอยุธยา

อาณาจักรอยุธยา

กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา

ภายหลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงเมื่อ

ประมาณปี พ.ศ. 1893 และต่อมาพระเจ้าบรมราชาที่สอง ทรงตีนครธมซึ่งเป็นราชธานีของขอมได้ทรง

กวาดต้อนบรรดาพราหมณ์และขุนนางขอมจำนวนมากเข้ามาไว้ในกรุงศรีอยุธยา ทำให้ความคิดทางด้านการปกครองและวัฒนธรรมของขอมซึ่งเป็นแบบฮินดู ได้เข้ามามีอิทธิพลในสังคมไทยโดยเฉพาะแนวความคิดในลัทธิเทวราช กล่าวคือ พระเจ้าแผ่นดินเป็นเทพเจ้าแบ่งภาคลงมาเกิด จึงเริ่มมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ สำหรับกฎหมายซึ่งถือเป็นแม่บทอันสำคัญก็คือ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ อันมีที่มาจากประเทศอินเดียตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ไทยได้รับผ่านมาทางมอญซึ่งนับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกับไทย ในทางทฤษฎีแล้วคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเปลี่ยนความสัมพันธ์แบบพ่อปกครองลูกมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความยุติธรรม แนวทางที่สะท้อนมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ หลักทศพิศราชธรรม ซึ่งเป็นกรอบของพระมหากษัตริย์ไทยที่ถือเป็นหลักการสูงสุดกว่าสิ่งใดเทียบได้กับหลักกฎหมายธรรมชาติตามแนวคิดของยุโรป

พระราชศาสตร์ ตามแนวพระธรรมศาสตร์ พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ให้และรักษาความ ยุติธรรม

มิใช่เป็นผู้สร้างกฎหมาย พระองค์จึงทรงวินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นอันมากเกิดเป็น

พระราชศาสตร์ขึ้นมา ได้แก่ พระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีโดยสอดคล้องกับ

พระธรรมศาสตร์ ส่วนเนื้อหาพระราชศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์แห่งการปฏิบัติ

ราชการ กฎมณเฑียรบาล กฎเกณฑ์เรื่องที่ดินและสถานภาพของบุคคลในสังคม กล่าวโดยสรุป

พระราชศาสตร์คือกฎเกณฑ์ที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างขึ้นจากการวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ

 

กฎหมายอื่น ๆ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินตราขึ้นใช้บังคับในสมัยกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ตั้งแต่สมเด็จ

พระรามาธิบดีจนถึงสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ทรงตรากฎหมายขึ้นตามความจำเป็น เช่น

กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะผัวเมีย กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายลักษณะ

พยาน ฯลฯ กฎหมายเหล่านี้เรียกชื่อโดยรวม ๆ ว่า “พระราชกำหนดบทพระอัยการหรือ

พระราชกำหนดกฎหมาย

23_1236849106_副本d


ใส่ความเห็น

กฎหมายสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย

กฎหมายสมัยสุโขทัย

หากจะกล่าวถึงกฎหมายในสมัยสุโขทัย ก็เช่นเดียวกับการกล่าวถึงกฎหมายในสังคมโบราณอื่นๆ ที่

กฎหมายก็คือหลัก “ธรรมะ” และจารีตประเพณีในสังคมนั้นๆ ศ. ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ให้ข้อสังเกตใน

เรื่องนี้ว่าลักษณะของกฎหมายในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นแบบกฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht) กล่าวคือ

เป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุผลธรรมดาของสามัญชนหรือสามัญสำนึก (Simple Natural Reason) เป็น

ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน กฎเกณฑ์ประเภทนี้มีพื้นฐานมาจากความคิดทางศีลธรรมหลักฐานที่ได้ค้นพบและช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคมและทำให้ทราบเรื่องราวสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยก็คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงซึ่งจะต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า ศิลาจารึกดังกล่าวมิใช่เป็นการจารึกตัวบทกฎหมาย แต่เป็นเพียงหลักฐานที่ทำให้ทราบถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตและกฎเกณฑ์บางประการที่ถือปฏิบัติในสมัยนั้น ซึ่งอาจจะจำแนกให้เห็นในเรื่องที่สำคัญ ๆ และเกี่ยวข้องกับการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายได้ ดังนี้

  • เรื่องสถานภาพของบุคคลในสังคมสุโขทัยเกี่ยวการแบ่งชนชั้น จากหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงจะพบข้อความ คำว่า “ลูกเจ้าลูกขุน” หมายถึงเจ้าขุนมูลนายหรือขุนนาง ซึ่งก็คือชนชั้นปกครอง ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลที่อยู่ในฐานะของราษฎรสามัญ แต่การมีบุคคลในสองระดับแบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่มีอยู่โดยทั่วไป แต่ไม่ถึงขนาดที่มีการแบ่งชนชั้น
  • เรื่องที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จากหลักฐานในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีข้อความแสดงให้เห็นถึงเสรีภาพการค้าขายในเวลานั้นว่ามีเสรีภาพอย่างเต็มที่และนอกจากนี้ยังได้แสดงถึงระบบกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจน ถ้าหากบุคคลใดเสียชีวิต ทรัพย์สินที่มีอยู่ถือเป็นมรดกตกได้แก่ลูกหลานของบุคคลนั้น แสดงถึงการตกทอดในเรื่องทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายมรดก
  • เรื่องที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีและการลงโทษผู้กระทำผิด จากหลักฐานในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงปรากฏชัดว่า มีระบบการพิจารณาคดีหรืออาจจะกล่าวได้ว่ามีกฎหมายลักษณะตระลาการ กล่าวคือ เมื่อมีข้อพิพาทให้พิจารณาและตัดสินไปโดยซื่อสัตย์สุจริต นอกจากนี้ยังมีข้อความที่จารึกไว้ทำนองการรับเรื่องราวร้องทุกข์ดังข้อความที่ว่า “ในปากประตู มีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจมันจะกล่าวเถิ่งเจ้าขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม

  • เรื่องที่เกี่ยวกับการปกครอง การปกครองในสมัยสุโขทัยมีลักษณะแบบพ่อปกครองลูกบทบาทของผู้ปกครองจึงมีลักษณะเหมือนพ่อบ้านกับลูกบ้าน (Patriarchal Ruler)