sirada06530089

พัฒนาการของกฎหมายไทย


ใส่ความเห็น

กฎหมายและศาลสมัยกรุงศรีอยุธยา
ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
         ลักษณะการตั้งกฎหมายในตอนแรกๆ นั้นทำเป็นหมายประกาศอย่างละเอียด ขึ้นต้นบอกวัน เดือน ปี ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ใครเป็นผู้กราบบังคมทูลคดีอันเป็นเหตุให้ตรากฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินยืดยาวเกินไป จึงตัดข้อความที่ไม่ต้องการออก แต่ต่อๆ มา กฎหมายมีมากขึ้น ก็ยากแก่การค้นห้า จึงตัดข้อความลงอีก ซึ่งพราหมณ์ชาวอินเดียเป็นผู้นำมาสอนให้ทำ อนุโลมตามแบบพระมนูธรรมศาสตร์ อันเป็นหลักกฎหมายของอินเดีย เช่น ลักษณะโจร ลักษณะผัวเมีย

    

           กฎหมายสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ในระหว่าง พ.ศ. 1894-1910 ได้มีการพิจารณาตรากฎหมายขึ้นทั้งหมด 10 ฉบับ คือ
1. กฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1894
2. กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1895
3. กฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. 1899
4. กฎหมายลักษณะลักพา พ.ศ. 1899
5. กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ พ.ศ. 1901
6. กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. 1903
7. กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน พ.ศ. 1903
8. กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904
9. กฎหมายลักษณะผัวเมีย(เพิ่มเติม) พ.ศ. 1905
10. กฎหมายลักษณะโจรว่าด้วยสมโจร พ.ศ. 1910

    

           กฎหมายลักษณะลักพา
           กฎหมายลักษณะลักพา มีอยู่บทหนึ่งว่าด้วยเรื่องทาส ดังนี้ ผู้ใดลักพาข้าคนท่านขายให้แก่คนต่างประเทศ คนต่างเมือง ฯลฯ พิจารณาเป็นสัจ ท่านให้ฆ่าผู้ร้ายนั้นเสีย ส่วนชาวต่างประเทศนั้นให้เกาะจำไว้ฉันไหมโจร
แต่ เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัยเป็นมิตรกันนั้น มีผู้ลักพาทาสในกรุงศรีอยุธยาหนีขึ้นไปเมืองเหนือ พวกเจ้าเงินกราบทูลพระเจ้าอู่ทองขอให้ไปติดตามเอาทาสกลับมา แต่พระเจ้าอู่ทองกลับมีพระราชดำรัสให้ว่ากล่าวเอาแก่ผู้ขายนายประกันเท่า นั้น
    กฎหมายลักษณะผัวเมีย
กฎหมายลักษณะผัวเมียในสมัยนั้น ชายมีภรรยาได้หลายคน และกฎหมายก็ยอมรับ กฎหมายจึงแบ่งภรรยาออกเป็น
1. หญิงอันบิดามารดากุมมือให้ไปเป็นเมียชาย ได้ชื่อว่าเป็นเมียกลางเมือง (เมียหลวง)
2. ชายขอหญิงมาเลี้ยงเป็นอนุภรรยาหลั่นเมียหลวงลงมา ได้ชื่อว่าเมียกลางนอก
3. หญิงใดทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่ได้มาเห็นหมดหน้า เลี้ยงเป็นเมียได้ชื่อว่า เมียกลางทาสี


           การพิจารณาคดี
ในสมัยพระจ้าอู่ทองนั้น ได้อยู่ในอำนาจของเสนาบดีจตุสดมภ์ดังนี้
1. เสนาบดีกรมเมือง พิจารณาพิพากษาคดีอุกฉกรรจ์ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในแผ่นดิน
2. เสนาบดีกรมวัง พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทของราษฎร
3. เสนาบดีกรมคลัง พิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. เสนาบดีกรมนา พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โคกระบือ เพื่อระงับข้อพิพาทของชาวนา

อ้างอิงจาก http://www.dek-d.com/board/view/1618375/