sirada06530089

พัฒนาการของกฎหมายไทย

ความคิดทางด้านกฎหมายมหาชน

ใส่ความเห็น

23_1236849ll106_副本

+++++ ความคิดทางด้านกฎหมายมหาชน

                              ตามหลักกฎหมายสมัยใหม่ถือหลักว่าการปกครองและการบริหารราชการต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่เรียกว่า “Principle of Legality in Administration” กล่าวคือ เจ้าพนักงานผู้ใช้อำนาจในการปกครองหรือบริหารบ้านเมืองจะลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของเอกชนได้ ก็เฉพาะแต่ที่กฎหมายให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น และจะต้องกระทำด้วยกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายด้วย การปกครองในรัฐสมัยใหม่จึงจำต้องยอมรับหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of power) ออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เพราะการแยกอำนาจดังกล่าวมิได้แบ่งเพื่อความเป็นระบบทางทฤษฎีเท่านั้น แต่แบ่งเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ (for pragmatical purpose) เพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ตกอยู่ใต้อำนาจอำเภอใจของอำนาจฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งความคิดทางด้านกฎหมายมหาชนตามหลักกฎหมายสมัยใหม่ดังกล่าวแตกต่าง จากการปกครองของไทยในสมัยนั้นซึ่งเป็นระบบโบราณแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

                              อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะไม่ได้แยกอำนาจออกเป็น 3 ส่วน เพื่อถ่วงดุลกันดังหลักกฎหมายข้างต้น แต่ก็มิได้หมายความว่า ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทยจะมีลักษณะของการใช้อำนาจโดย เด็ดขาด (Absolute Monarchy) แบบโลกตะวันตก เพราะการปกครองของพระมหากษัตริย์ไทยจะถือ หลักคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นสำคัญ คือ ยึดถือหลักธรรมศาสตร์ในการปกครองแผ่นดิน การจะมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องใดต้องยึดถือหลักคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นที่ ตั้งใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกที่ได้ริเริ่มปรับปรุงระบบกฎหมายตาม แบบตะวันตก ในสมัยของพระองค์ท่านได้มีการประกาศใช้กฎหมายมากมายร่วม 500 ฉบับ กฎหมายที่ประกาศใช้ในเวลานั้น นอกจากจะเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อแก้ไข ปัญหาเฉพาะเรื่องแล้ว ประกาศส่วนหนึ่งจะแสดงถึงแนวพระราชดำริที่จะปรับเปลี่ยนความคิดของคนไทยให้ ทัดเทียมอารยประเทศด้วย เช่น ทรงออกประกาศยกเลิกประเพณีที่บิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดย เจ้าตัวไม่สมัครใจเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ทรงดำริว่าสิทธิดังกล่าวไม่เป็นการยุติธรรมแก่เด็กและผู้หญิง นอกจากนี้ยังทรงออกประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บรรดาเจ้าจอมถวายบังคม ลาไปอยู่ที่อื่นหรือแต่งงานใหม่ได้ ด้วยทรงเมตตาแก่หญิงเหล่านั้นว่าจะต้องมาใช้ชีวิตเหมือนถูกกักขังอยู่ในพระ บรมมหาราชวัง ทำให้ขาดความสุข ขาดเสรีภาพเปลืองชีวิตและเวลาของหญิงเหล่านั้นไปโดยเปล่าประโยชน์ในส่วนที่ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงออกประกาศอย่างเป็นทางการ ยกเลิกประเพณีบางอย่างที่เห็นว่าล้าสมัย เช่น ประเพณีห้ามราษฎรมองดูพระมหากษัตริย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ราษฎร เช่น ในเรื่องที่ดิน ทรงเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งปวง ทั่วราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับหลักการของกฎหมายสมัยใหม่ อนึ่ง เมื่อมีประกาศออกมาการป่าวประกาศให้ราษฎรได้ทราบตามแบบที่เคยปฏิบัติกันมา แต่เดิมอาจจะไม่บรรลุผลและอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ เพราะกฎเกณฑ์ที่ประกาศขึ้นใหม่นั้นส่วนหนึ่งกำหนดขึ้นโดยเหตุผลทางเทคนิค (Technical Reason) จึงไม่ใช่เรื่องที่ประชาชนจะรู้ได้ด้วยสามัญสำนึก ดังนั้นเพื่อให้การรับรู้และประกาศใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็น ทางการมากขึ้น จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังและต่อมาได้จัด พิมพ์หนังสือที่เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา เมื่อมีกฎหมายออกมาใช้ใหม่ก็ให้ประกาศในหนังสือนี้ ในประกาศที่ 1 ว่าด้วยออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาดังนั้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เริ่มรับแนวคิดทางตะวันตก โดยพระองค์เห็นว่ากฎหมายมิได้คงที่ตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงได้ตามศีลธรรมความรู้สึก ประเพณีและความก้าวหน้าในอารยธรรม พระองค์ทรงแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่นำไปสู่ความยุติธรรม คือ พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย

รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ใส่ความเห็น