sirada06530089

พัฒนาการของกฎหมายไทย


ใส่ความเห็น

กฎหมายสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

กฎหมายสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4

                               กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในระยะแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ก็คือ กฎหมายที่ใช้อยู่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยอาศัยความจำและการคัดลอกกันมาตามเอกสารที่หลงเหลือจากการถูกทำลายเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ตามพระราชกำหนดใหม่ข้อที่ 28 กล่าวว่า บทกฎหมายเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยาได้สูญไปมากในบทกฎหมายเก้าหรือสิบส่วน จะคงมีเหลืออยู่ก็แต่เพียงส่วนเดียวเท่านั้นและเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงทำการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ โดยอาศัยมูลอำนาจอธิปไตยของพระองค์เองบ้าง อาศัยหลักฐานที่ได้จากการสืบสวนฟังคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บ้าง เช่น ผู้ที่ได้เคยอยู่ในคณะตุลาการศาลแต่ครั้งเดิมๆ จนกระทั่งได้เกิดคดีฟ้องหย่าของชาวบ้านเกิดขึ้นและมีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ คดีฟ้องหย่าที่เกิดขึ้นนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์กฎหมาย ก็คือผลจากคดีนี้เป็นต้นเหตุให้นำมาซึ่งการชำระสะสางกฎหมายในสมัยนั้น คดีที่ว่านี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2347 โดยเป็นคดีที่อำแดงป้อม ฟ้องหย่านายบุญศรีช่างเหล็กหลวง ทั้ง ๆ ที่ตนได้ทำชู้กับนายราชาอรรถและศาลได้พิพากษาให้หย่าได้ตามที่อำแดงป้อมฟ้อง โดยอาศัยการพิจารณาคดีตามบทกฎหมายที่มีความว่า ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้เมื่อผลคดีเป็นเช่นนี้

                        นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้นขัดหลักความยุติธรรม ทรงสงสัยว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะถูกต้องตรงตามตัวบทกฎหมายหรือไม่ จึงมีพระบรมราชโองการให้เทียบกฎหมาย 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ศาลใช้กับฉบับที่หอหลวงและที่ห้องเครื่องแต่ก็ปรากฏข้อความที่ตรงกัน เมื่อเป็นดังนี้ จึงทรงมีพระราชดำริว่า กฎหมายนั้นไม่เหมาะสม อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการคัดลอกสมควรที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายใหม่ เหมือนการสังคายนาพระไตรปิฎกในการชำระกฎหมายครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการทั้งหมด 11 คน โดยให้มีหน้าที่2 ประการ คือ ประการแรก จัดให้มีทางสำหรับค้นหาตัวบทกฎหมายได้ง่าย เพื่อความสะดวกแก่ศาลในอันที่จะค้นคว้านำเอามาพิเคราะห์ประกอบการพิจารณาอรรถคดี หน้าที่ประการที่สองคือจัดการสะสางเกี่ยวกับเนื้อความในตัวบทกฎหมายนั้น เพื่อตัดทอนส่วนที่มีความขัดแย้งอันทำให้เกิดความฉงนสนเท่ห์แก่ศาลในอันที่จะนำเอาบทกฎหมายมาปรับกับคดีให้ถูกต้องและสะดวกแก่การใช้ แต่ไม่สามารถที่จะแต่งเติมหรือยกร่างสิ่งใหม่ได้ เพราะเชื่อว่ากฎหมายหรือหลักธรรมมิใช่สิ่งที่มนุษย์จะสร้างขึ้นมาได้ หลังชำระสะสางเสร็จแล้ว อาลักษณ์ได้เขียนด้วยหมึกบนสมุดข่อยและประทับตรา 3 ดวง บนปก คือ ตราคชสีห์ ตราราชสีห์และตราบัวแก้ว ตราประทับดังกล่าวเป็นตราประจำตำแหน่งของสมุหนายก สมุหกลาโหม และเจ้าพระยาพระคลังภายหลังกฎหมายตราสามดวงแล้ว รัชกาลที่ 1 พระองค์ได้ตรากฎหมาย พระราชบัญญัติบ่อนเบี้ยพ.ศ. 2333 กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ กฎหมายห้ามมิให้ซื้อฝิ่นขายฝิ่น สูบฝิ่น พ.ศ. 2354 กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ กฎหมายโจรห้าเส้น พ.ศ. 2380ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไทยต้องปรับปรุงระบบกฎหมายให้เข้าสู่สมัยใหม่ การปรับเปลี่ยนเช่นนี้มิได้เป็นไปเฉพาะประเทศไทย แต่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียก็ล้วนแต่ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน และนอกจากนี้เกิดจากความบกพร่องของกฎหมายไทยเดิมในการใช้ติดต่อกับชาวต่างชาติในเวลานั้น ซึ่งพบว่ามีข้อขัดข้องอยู่บางประการเพราะกฎหมายเดิมที่มีอยู่ไม่สามารถใช้แก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะสัญญาทางพาณิชย์ และในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายเทคนิค (Technical Law) ในประเด็นเหล่านี้เองเมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกจะพบความแตกต่างที่เห็นได้ชัด และต้องยอมรับว่า กฎหมายสมัยใหม่ของตะวันตกสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ความจำเป็นในการที่ต้องรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกมาใช้ในระบบกฎหมายของไทยนั้นเนื่องมาจากปัญหาเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จึงจำเป็นต้องปรับปรุงระบบกฎหมายให้ทันสมัย ซึ่งสาเหตุดังกล่าวก็เป็นเหตุผลและความจำเป็นที่มีอยู่ในเวลานั้น เพราะในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศทางยุโรปเรืองอำนาจ จึงเป็นการยากที่จะปฏิเสธข้อเสนอจากประเทศเหล่านั้น แต่นอกจากเหตุผลดังกล่าว หากพิจารณาในส่วนที่เป็นหลักการและเนื้อหาของกฎหมายด้วยแล้ว จะพบว่าการรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกในครั้งนั้น เป็นเพราะลักษณะพิเศษของกฎหมายสมัยใหม่ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างเป็นระบบ เปี่ยมไปด้วยเหตุผล มีความเหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้กับสังคมสมัยใหม่ดังนั้นจึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า สาเหตุที่ประเทศไทยรับเอากฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก เป็นเพราะเหตุผลใหญ่ ๆ 2 ประการ กล่าวคือ

         

                ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

นับแต่ปี พ.ศ. 2398 ไทยจำต้องทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ซึ่งมีสาระสำคัญประการหนึ่งก็คือ ข้อตกลงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนต่างชาติที่ทำผิดในเมืองไทยขอยกเว้นที่จะไม่ใช้กฎหมายไทยบังคับ ทั้งนี้โดยมีเหตุผลว่า กฎหมายไทยยังล้าสมัย และนอกจากนี้ไทยยังจำต้องยอมทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ อีก 13 ฉบับและได้ขยายไปถึงอาณานิคมของประเทศเหล่านั้นด้วย ซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้นอกจากจะก่อให้เกิดข้อเสียเปรียบทางด้านการศาลแล้ว ยังก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจด้วย คือ ไทยมีสิทธิเก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3 และต้องยอมเลิกระบบผูกขาดของระบบพระคลังสินค้า ส่วนภาษีขาออกเก็บได้ตามพิกัดสินค้าที่แนบท้ายสัญญา และไทยต้องยอมให้อังกฤษส่งฝิ่นเข้ามาจำหน่ายได้ด้วย อนึ่งแม้จะรู้ถึงข้อเสียเปรียบแต่ไทยจำต้องยอมเพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้

         

                  ความไม่เหมาะสมกับกาลสมัยของกฎหมายไทยเดิม

การที่ชาวต่างชาติได้ขอทำสนธิสัญญาในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยไม่ยอมขึ้นศาลไทยนั้น เพราะชาวต่างชาติให้เหตุผลว่าระบบกฎหมายของไทยยังมีความล้าหลังมาก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา อนึ่ง หากจะตั้งคำถามว่า กฎหมายเดิมของไทยซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีความบกพร่องล้าสมัยดังที่ชาวต่างชาติกล่าวหานั้นเป็นความจริงหรือไม่ คำตอบก็คงจะเป็นว่ากฎหมายเดิมของไทยไม่ได้บกพร่องหรือใช้ไม่ได้เสียทั้งหมด หลักกฎหมายแม่บทคือคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นหลักกฎหมายที่สามารถใช้ได้ตลอดไปไม่ว่าเวลาใด แต่ในส่วนที่เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องกฎหมายเหล่านี้อาจไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายสมัยใหม่แล้ว จะพบความแตกต่างและความล้าสมัยในประการสำคัญดังนี้

+++++ ในด้านศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎหมายสมัยใหม่ถือว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนาม

เป็นบุคคลและเป็นตัวการของกฎหมาย (Subject of Law) ถือว่าบุคคลทุกคนที่เกิดมามีความ

เท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมายหรือที่เรียกกันว่าหลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย

(Equality Before the Law) หลักดังกล่าวนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบกับสังคมไทยในสมัยนั้นจะ

พบว่า ประเทศไทยยังมีทาสอยู่ แม้ว่าสถานะของทาสในเมืองไทยจะไม่ได้มีสภาพเหมือนวัตถุ

ดังเช่นความหมายของทาสแบบตะวันตก แต่ทาสไทยก็ไม่ได้รับการรับรองในศักดิ์ศรีของความ

เป็นมนุษย์เท่าที่ควรการปฏิบัติต่อทาสนั้น ยังถือว่าทาสเป็นเหมือนทรัพย์สินของมูลนายหรือ

ผู้เป็นเจ้าของทาส

+++++การรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของทรัพย์สินเอกชน แม้ว่าความคิดเรื่องสิทธิในทรัพย์สินจะเป็น

เรื่องที่ได้รับการรับรู้มาตั้งแต่กฎหมายเดิมแล้ว แต่ในรัฐสมัยใหม่ได้ให้การรับรองและยืนยันใน

ความคิดนี้ให้เด่นชัดขึ้น จนถือเป็นหลักกฎหมายที่สำคัญว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วน

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกรณีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำนิติกรรมสัญญา เรื่องหนี้

หรือการมีนิติสัมพันธ์ในกรณีอื่น ๆ ล้วนได้รับการพัฒนาจนเป็นหลักกฎหมายสมัยใหม่

ในขณะที่สังคมไทยในอดีตยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพราะหลักกฎหมายที่มีอยู่ในกฎหมาย

ไทยเดิมคงปรากฏเฉพาะในเรื่องง่ายๆ เช่น ในเรื่องกู้ยืมฝากทรัพย์ เป็นต้น ในเรื่องดังกล่าว

.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า กฎหมายเดิมของไทยมีลักษณะที่ยังไม่ครอบคลุม

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเหมือนอย่างความคิดแบบตะวันตก

23_1236849106_副本';